วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูดไขมัน (liposuction)

การมีรูปร่างสมส่วน ไม่มีไขมันส่วนเกิน เป็นความปรารถนาของสาวๆ (และหนุ่มๆบางคน)
บางคน อ้วนทั้งตัว อาจจะเคยลองลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆมาแล้ว จะพบว่า บางส่วนนั้นลดได้ยาก เช่นต้นแขน สะโพก ต้นขา หรือหน้าท้อง อาจสนใจวิธีการดูดไขมันออกไป

การดูดไขมัน อาจทำได้โดย ดมยาสลบ หรือไม่ดมยาสลบก็ได้ โดยแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ (รูขนาดประมาณ 1-2 มม.) ตามตำแหน่งที่มาร์คไว้(ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะเห็นแผลไม่ชัด) แล้วสอด canula ยาวๆเข้าไปเพื่อฉีดยา tumescent solution นั้นก็คือ ยาชา ผสม adrenalin ผสม normal saline ที่ผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะ
จุดประสงค์ของการฉีด tumescent solution นี้ คือต้องการให้ชา,ให้เลือดไม่ออกมาก(จากฤทธิ์ของ adrenalin) และให้ไขมันแยกชั้นสามารถดูดออกได้ง่าย
โดยปริมาณ tumescent solution ที่ฉีดเข้าไปก่อนนี้ มักจะฉีดเท่าหรือมากกว่าปริมาณไขมันที่ต้องการดูดออกเล็กน้อย ส่วนมากก็จะฉีดเข้าไปประมาณ 1000 cc จะเห็นว่าเป็นปริมาณค่อนข้างมาก
หลังจากนั้นค่อยเริ่มการดูดออก โดยการสอด canula สำหรับดูดเข้าไปทางรูเดิมที่เจาะไว้
สิ่งที่ดูดออกมาก็จะเป็นไขมันและ tumescent solution ที่เราได้ใส่เข้าไปเมื่อครู่

หลังจากดูดเสร็จ ก็จะเย็บแผลไว้ (หรือบางคนปล่อยให้แผลปิดไปเองโดยไม่เย็บ) แล้วพันด้วยผ้า elastic เพื่อลดบวม
หลังจากนั้นควรนอนพัก และเริ่มลุกเดินหลัง 48 ชม.  สามารถกลับไปทำงานเบาๆได้ใน 5 วัน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- การที่มีเลือดออก หรือเกิดก้อนเลือด เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในคนที่การแข็งตัวของเลือดไม่ปรกติ ดัง
  นั้นก่อนผ่าตัดจึงต้องหยุดยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า ได้แก่ aspirin, vitaminE, น้ำมันตับปลา ต่างๆ
- การมีน้ำเหลืองไหลจากรูแผล เป็นได้ในช่วงแรก เป็นน้ำ tumescent ส่วนเกินไหลออกมา
- การติดเชื้อ ถ้ามีอาการปวดบวมแดง บริเวณที่ได้ทำการดูดไขมัน ให้รีบมาพบแพทย์ โดยเฉพาะถ้าเป็น
  ที่แขนหรือขา อาจมีการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อได้ (necrotizing fasciitis) แต่โอกาสเกิดได้น้อย
- สารน้ำในร่างกายไม่สมดุล (fluid and electrolyte imballance) เกิดขึ้นได้ (เนื่องจากมีการใส่สาร
   tumescent solution เข้าไปมากเกินไป หรือดูดออกมากเกินไป) การดูดไขมันจึงควรทำในโรงพยาบาล มี
   การเปิดเส้นเลือดให้น้ำเกลือเตรียมไว้ก่อน ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคไตนั้นต้องระวังให้มากขึ้น
   เพราะมีโอกาสเกิดภาวะน้ำเกินได้ อาจมีอาการเหนื่อยหอบ บวมได้
- ภาวะเป็นพิษจากการได้รับยาชามากเกินไป (lidocain toxicity) อาจมีอาการหน้ามืด ซึมลง ได้ยินเสียงวี้
  ในหู พูดไม่ชัด ในปากได้รับรสโลหะ ชาริมฝีปากและลิ้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ต้องแจ้งแพทย์
- ภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้มาก เช่น pulmonary embolism (ลิ่มเลือดหลุดเข้าไปในกระแสเลือดไปอุดตัน
   หลอดเลือดที่ปอด) และภาวะ fat embolism (ก้อนไขมันหลุดเข้าไปในกระแสเลือด) จะมีอาการหอบ
   เหนื่อยฉับพลัน มีฝื่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง การทำงานระบบประสาทผิดปรกติ อาจถึงแก่ชีวิตได้
   แต่เป็นภาวะที่เกิดได้น้อยมาก ดังนั้น การดูดไขมันจึงควรทำในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือช่วยชีวิต
   พร้อม
- นอกจากนั้นก็เป็นผลทางความสวยงาม เช่นผิวไม่เรียบ เป็นคลื่น
- ในกรณีใช้ ultrasound ในการให้ความร้อนเพื่อสลายไขมันก่อน (VASER) อาจเกิดความร้อนไปโดนผิว
   หนังทำให้ผิวหนังไหม้ได้ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าแพทย์ระมัดระวัง

ผู้ใดไม่ควรรับการดูดไขมัน
- ได้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงในเรื่องการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปรกติ (อาจเกิด DVT หรือ pulmonary
   embolism) และผู้ที่เลือดแข็งตัวช้ากว่าปรกติ (คนที่กินยา aspirin, plavix หรือยาต้านเกร็ดเลือดต่างๆ
   และคนที่กิน วิตามินอี น้ำมันตับปลาอยู่ เป็นต้น)

การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการตัดเต้านม (breast reconstruction)

ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนมาก ได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้า ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยอย่างมาก เพราะเต้านมเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิง เป็นอวัยวะที่สำคัญทางด้านความรู้สึกและจิตใจ ปัจจุบัน มีการรักษามะเร็งเต้านมแบบเก็บรักษาเต้านมส่วนที่ดีไว้ ซึ่งทำได้เฉพาะกรณีมะเร็งระยะเริ่มแรก (stage 1-2) และยังมีบางกรณีที่ไม่สามารถใช้การรักษาลักษณะนี้ได้เช่น ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายรังสีที่เต้านมมาก่อน, ผู้ป่วยตั้งครรภ์(เนื่องจากต้องรับการฉายรังสีหลังผ่าตัด), ผู้ป่วยที่มีมะเร็งหลายตำแหน่งกระจายในเต้านม
ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังคงได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมออกทั้งเต้า
ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดสร้างเนื้อเต้านมขึ้นใหม่ โดยใช้เนื้อหน้าท้อง (trans rectus abdominis musculocutaneous flap) หรือใช้เนื้อจากด้านหลังร่วมกับใส่ซิลิโคนเสริม (latissimus dorsi musculocutaneous flap - LD with prosthesis) การจะใช้วิธีใดนั้นขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์หลังจากได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้ว
ซึ่งการผ่าตัดสร้างเนื้อเต้านมใหม่นั้น สามารถทำในการผ่าตัดครั้งเดียวกับการตัดเต้านมเลยก็ได้ (ดมยาสลบครั้งเดียว) หรือจะทำหลังจากรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาดแล้วก็ได้



ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า(ภาพจาก Mathes plastic surgery)

หลังการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อหน้าท้อง(ภาพจาก Mather plastic surgery)