วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการตัดเต้านม (breast reconstruction)

ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนมาก ได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้า ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยอย่างมาก เพราะเต้านมเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิง เป็นอวัยวะที่สำคัญทางด้านความรู้สึกและจิตใจ ปัจจุบัน มีการรักษามะเร็งเต้านมแบบเก็บรักษาเต้านมส่วนที่ดีไว้ ซึ่งทำได้เฉพาะกรณีมะเร็งระยะเริ่มแรก (stage 1-2) และยังมีบางกรณีที่ไม่สามารถใช้การรักษาลักษณะนี้ได้เช่น ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายรังสีที่เต้านมมาก่อน, ผู้ป่วยตั้งครรภ์(เนื่องจากต้องรับการฉายรังสีหลังผ่าตัด), ผู้ป่วยที่มีมะเร็งหลายตำแหน่งกระจายในเต้านม
ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังคงได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมออกทั้งเต้า
ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดสร้างเนื้อเต้านมขึ้นใหม่ โดยใช้เนื้อหน้าท้อง (trans rectus abdominis musculocutaneous flap) หรือใช้เนื้อจากด้านหลังร่วมกับใส่ซิลิโคนเสริม (latissimus dorsi musculocutaneous flap - LD with prosthesis) การจะใช้วิธีใดนั้นขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์หลังจากได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้ว
ซึ่งการผ่าตัดสร้างเนื้อเต้านมใหม่นั้น สามารถทำในการผ่าตัดครั้งเดียวกับการตัดเต้านมเลยก็ได้ (ดมยาสลบครั้งเดียว) หรือจะทำหลังจากรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาดแล้วก็ได้



ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า(ภาพจาก Mathes plastic surgery)

หลังการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อหน้าท้อง(ภาพจาก Mather plastic surgery)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น