ระดับ 1 หัวนมอยู่ระดับเดียวกับฐานเต้านม (A)
ระดับ 2 หัวนมอยู่ต่ำกว่าฐานเต้านม 1-3 ซม. (B)
ระดับ 3 หัวนมอยู่ต่ำกว่าฐานเต้านม > 3 ซม. (C)
การผ่าตัดแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะทำวิธีใดนั้นต้องคำนึงถึงขนาดของเต้านมและความรุนแรงของการหย่อนยาน
กรณีขนาดเต้านมเล็ก
- ถ้าเต้านมหย่อนยานไม่มาก (ระดับ1) แก้ไขโดยการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ
- ถ้าเต้านมหย่อนยานมาก (ระดับ2-3) แก้ไขโดยการเสริมเต้านมร่วมกับการตัดหนังส่วนเกินออก โดยลง
แผลรอบปานนม
กรณีขนาดเต้านมเพียงพออยู่แล้ว
- ถ้าเต้านมหย่อนยานไม่มาก (ระดับ1) แก้ไขโดยการผ่าตัดยกเต้านมโดยลงแผลรอบปานนม และตัดหนังส่วนเกินออก แผลจะถูกซ่อนอยู่บริเวณรอยขอบของปานนม
- ถ้าเต้านมหย่อนยานมาก (ระดับ 2-3) แก้ไขโดยการผ่าตัดที่ต้องมีแผลยาวลงมาอีกเล็กน้อยด้านล่างของเต้านม (ที่ต้องมีแผลยาวหน่อยเพราะต้องตัดหนังออกมาก)
กรณีขนาดเต้านมใหญ่เกินไป จนมีอาการปวดไหล่ ปวดต้นคอ ปวดหลัง หรือมีเชื้อราใต้ฐานนม ถือเป็นความผิดปรกติที่ต้องลดขนาดเต้านมลง แก้ไขได้โดยการผ่าตัดลดขนาดเต้านมค่ะ
เต้านมหย่อนยานไม่มาก (ระดับ1) แก้ไขโดยผ่าตัดยกกระชับเต้านมโดยลงแผลรอบปานนม (ภาพจาก Mathes plastic surgery) |
เต้านมหย่อนยานมาก แก้ไขโดยการผ่าตัดยกกระชับเต้านมโดยลงแผลยาวลงมาด้านล่าง (ภาพจาก Mathes plastic surgery) |
ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดลดขนาดเต้านมอาจจะไม่สามารถให้นมบุตรได้อีก จึงควรทำในผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ค่ะ
การผ่าตัดนี้ต้องดมยาสลบและนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน
หลังผ่าตัดอาจมีอาการชาเต้านมและหัวนมได้ แต่มักจะดีขึ้นได้เอง อาการชาถาวรเกิดขึ้นได้ไม่มาก