วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การปิดแผลขนาดใหญ่



ในภาพ ผู้ป่วยทำงานโรงงาน แขนเข้าเครื่องจักร โดนกระชากเนื้อหลุดเป็นบริเวณกว้าง โดยที่หลอดเลือดด้านหนึ่งยังคงเหลืออยู่ ทำให้ปลายมือยังมีเลือดมาเลี้ยง ส่วนเส้นเอ็นฉีกขาดอย่างมาก

ภาพล่าง หลังจากผ่าตัดปิดแผลด้วย free TRAM flap (การตัดเอากล้ามเนื้อ และผิวหนังที่หน้าท้อง พร้อมหลอดเลือด ยกขึ้นมาต่อกับหลอดเลือดบริเวณแขน เพื่อปิดแผลขนาดใหญ่)


การปิดแผล ทำได้หลายวิธี ขึ้นกับขนาดและลักษณะของแผล แผลที่สะอาด อาจปิดได้ทันที ส่วนแผลที่สกปรก อาจต้องล้างแผลจนแน่ใจว่าไม่ีมีการติดเชื้อ จึงปิดแผล

วิธีการปิดแผล
1. เย็บปิด (primary closure) ในกรณีแผลสะอาด ขนาดเล็ก ที่สามารถเย็บถึงกันได้ / การเย็บปิดภายหลัง (delayed primary closure) ในกรณีแผลค่อนข้างสกปรก ต้องการล้างแผลให้สะอาดก่อน
2. การปล่อยให้แผลหายเอง ในกรณีแผลแคบๆ ไม่ลึก แผลอาจหายได้เอง
3. การเอาหนังจากส่วนอื่นมาแปะ (skin graft) ในกรณีแผลกว้าง หรือลึก เกินกว่าที่จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็ควรเอาหนังจากส่วนอื่นมาแปะ
การที่จะเอาหนังมาแปะได้ บริเวณแผลจะต้อง มีเลือดมาเลี้ยงพอ ไม่มีการติดเชื้อ ไม่มีมะเร็งซ่อนอยู่ ไม่เป็นบริเวณที่กระดูกหรือเส้นเอ็นโผล่ หนังที่นำมาแปะ จึงจะสามารถติดได้ ถ้าแผลใดที่มีข้อห้ามเหล่านี้ จะไม่สามารถเอาหนังมาแปะ แต่จะต้องย้ายเนื้อมาปิดแทน (flap)
4. การย้ายเนื้อจากบริเวณข้างเคียง (local flap) ในกรณีที่ตำแหน่งแผล ต้องการความสวยงามกลมกลืน หรือแผลที่ไม่สามารถเอาหนังมาแปะได้
5. การย้ายเนื้อจากบริเวณรอบข้าง (regional flap)
6. การย้ายเนื้อจากบริเวณห่างไกล (distant flap)
7. การย้ายเนื้อโดยการตัดขั้วหลอดเลือดมาต่อกับหลอดเลือดบริเวณแผล (free flap)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น